วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสอบ




คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
1.Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
การจัดการในชั้นเรียน คือ การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน  การสร้างวินัย ในชั้นเรียนตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและการพัฒนาทักษะการสอน ของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         การบริหารการศึกษา  คือ   กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน หรือสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน เช่น ความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม ค่านิยม หรือคุณธรรม ทั้งในด้านการสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิกที่ดีและมีประสิทธิภาพของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ทั้งที่เป็นระเบียบแบบแผน และไม่เป็นระเบียบแบบแผนโดยกระบวนการต่างๆที่อาศัยการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้ มีต่อบุคคล เพื่อให้บุคคลพัฒนาตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่
ดังนั้นการที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่ม ตั้งแต่ตัวครูต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีบุคลิกภาพที่แสดงถึงความเมตตาและเป็นมิตรกับผู้เรียน รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลรู้ภูมิหลัง ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ซึ่งครูผู้สอนควรมีเครื่องมือ และทักษะในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งอาจเป็นแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ การทำสังคมมิติ และการศึกษารายกรณี เป็นต้น นอกจากนั้นการควบคุมชั้นเรียนเป็นเรื่องที่ครูควรให้ความสนใจ หากพบนักเรียนที่ปัญหาครูจะดำเนินการอย่างไร ครูต้องรู้ว่านักเรียนที่สอนอยู่ในวัยใด วัยของเขาสนใจใฝ่รู้อะไร หากครูออกแบบการจัดการเรียนได้สอดคล้องกับแต่ละช่วงวัยของผู้เรียน และสอดคล้องกับความถนัดของผู้เรียน จะส่งผลให้ผู้เรียนมีความสนใจและตั้งใจในการเรียน เหมือนที่เราชอบเรียนวิชาอะไรในช่วงเด็กเพราะเราชอบครูใช่หรือไม่

2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
     มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด  โดยความหมายดังกล่าว วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรม ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ
มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการ ปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
ตัวอย่างเช่น ครูที่มีต้องมีความรู้ที่กว้างขวางและนำความรู้ที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนและเกิดประสิทธิภาพ และต้องคอยค้นคว้าหาความรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง มีความคิดสร้างสรรค์ เช่น
1.มีความค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
2.มีการเข้าร่วมประชุม สัมมนา เพื่อหาความรู้หาประกอบการเรียนการสอน
3.ติดตามข่าวสารบ้านเมือง
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
ตัวอย่างเช่น ครูจะต้องมีความรู้ในการสอนที่ดีและมากด้วยประสบการณ์มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ของบ้านเมือง ไม่เป็นครูที่ตกยุคไม่ก้าวทันต่อยุคสมัย และนำมาพัฒนาตนเองและวิชาชีพในทันต่อเหตุการณ์บ้านเมือง เช่น
1.นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการเรียนการสอน
2.ทันเหตุการณ์บ้านเมืองโดยการติดตามข่าวทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองมาใช้ในการประกอบการเรียนการสอน
3.ครูที่ดีต้องพัฒนาความรู้ของตนเองอยู่เสมอ

๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
ตัวอย่างเช่นตัว ครูที่ดีต้องมีกิริยามารยาท และบุคลิกภาพที่ดีเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการประกอบอาชีพครู เช่น
1.มีความกระตือรืนร้นต่องานที่ทำ
2.มีความความน่าเชื่อถือ
3.ครูที่ดีต้องแต่งกายให้เหมาะสมกาลเทศะ

3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
หลักการจัดชั้นเรียนที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
1.   ห้องเรียนมีอากาศถ่ายเทได้ดี มีแสงสว่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนอ่านหนังสือได้ชัดเจน 
2. ห้องเรียนมีความสะอาด โดยฝึกให้นักเรียนรับผิดชอบช่วยกันเก็บกวาด เช็ดถู เป็นการปลูกฝัง
นิสัยรักความสะอาด และฝึกการทำงานร่วมกัน
3. ห้องเรียนที่ดีควรมีมุมอ่านหนังสือเพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้นักเรียนอ่านคล่อง และการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้   และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 
4.  ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา และเอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน
5.  จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
6. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข  
7. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
8. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
9. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน
สรุป
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถรับผิดชอบควบคุมดูแลตนเอง ได้ในอนาคต การจัดบรรยากาศมีทั้งด้านกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทั้งการจัดตกแต่งในห้องเรียน จัดที่นั่ง จัดมุมเสริมความรู้ต่างๆ ให้สะดวกต่อการเรียนการสอน ทางด้านจิตวิทยา เป็นการสร้างความอบอุ่น ความสุขสบายใจให้กับผู้เรียน ผู้สอนควรจัดบรรยากาศทั้ง 2 ด้านนี้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดความสุขแก่ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะสร้างคุณลักษณะนิสัยของการใฝ่เรียนรู้ การมีนิสัยรักการเรียนรู้ การเป็นคนดี และการมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั่งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ซึ่งบุคคลสำคัญที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุขให้เกิดขึ้นได้คือ ครูผู้นำทางแห่งการเรียนรู้นั่นเอง

4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน
                การจัดภูมิลักษณ์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนและสภาพอาคารเรียนและความปลอดภัยทั้ง 2 อย่างนี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญทั้งสิ้นการเรียนการสอนไม่ได้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องควบคู่ไปกับการจัดภูมิลักษณ์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนเพื่อเอื้ออำนวยต่อการเรียนควรจัดให้มีความน่าสนใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน ควรจัดให้มีความเหมาะสมและสร้างสรรค์จัดให้เป็นสัดส่วนให้ดูเป็นระบบในการสอดส่องดูแลมีการจัดสนามเด็กเล่นและแหล่งเรียนรู้ เช่น การปลูกพืชสวนครัว การเลี้ยงไก่ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และที่ขาดไม่ได้เลย คือความปลอดภัยในอาคารเรียน ควรมีการตรวจสอบโครงสร้างอาคารเรียนอยู่ตลอดและควรมีไฟฟ้าที่แสงสว่างอยู่ทั่วทุกห้องเรียน เพื่อที่ช่วยถนอมสายตาของผู้เรียน และสภาพภายในห้องเรียนให้มีความปลอดภัยกับตัวผู้สอนและผู้เรียน

5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจ อย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
 ครูที่ดีในทัศนคติของดิฉัน ดิฉันคิดว่าครูที่ดีควรมีความพร้อมในทุกๆด้านและที่สำคัญควรหาความรู้ให้ตัวเองเสมออย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อที่จะนำไปสอนผู้เรียนให้ได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ให้ได้มากที่สุดครูที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
1.ครูต้องมีความรู้ความสามารถเพื่อที่จะสอนให้ได้ความรู้อย่างเต็มที่
2.ครูต้องมีความเชื่อในตนเอง
3. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม
4.ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล
5. รูควรแต่งกายเรียบร้อย ไม่แต่งกายนำสมัย และใช้เครื่องสำอางแต่พอประมาณ
6.ครูควรมีความสงบเสงี่ยม ต้องระมัดระวังในการวางตัวเสมอ
7.พูดจาไพเราะนุ่มนวลอยู่เสมอ
8.สามารถแนะนำให้เด็กได้ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องการเรียน

6.ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
                นำความรู้เรื่องจริยธรรมและคุณธรรมเข้าไปบูรณะกับเนื้อหาที่สอน และฝึกให้ผู้เรียนตระหนักในการใช้จริยธรรมและคุณธรรมที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและจัดตั้งชมรมเกี่ยวกับจริยธรรมและสังคม ขึ้นในโรงเรียน  และเนื่องจากดิฉันเรียนหลักสูตรสังคมศึกษาง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชา เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่ผู้เรียน

















               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น