วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 7

การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ   ให้นักศึกษาเปิดไฟล์ข้อมูลและสรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร และนักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร  อ่านจากบทความนี้และนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
ปัจจัยสำคัญของการจัดการชั้นเรียนนอกจากจะอยู่ที่ตัวครูและเทคนิคการสอนของครูแล้ว การจัดการสิ่งแวดล้อมมี่ส่งเสริมการเรียนเพื่อสร้างบรรยากาศทางกายภาพ รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมให้เด็กสร้างวินัยในการควบคุมตนเองและระงับยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทั้งนักศึกษาครู ครูใหม่หรือแม้แต่ครูที่มีประสบการณ์จะต้องฝึกฝนพัฒนาทักษะและเทคนิคการจัดการการชั้นเรียนจนเรียกได้ว่าเป็นครูมืออาชีพ จึงจะสามารถดำเนินการในชั้นเรียนได้อย่างราบรื่นโดยปราศจากปัญหาอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้สำเร็จล่วงไปได้ด้วยดี
การที่ครูจะดำเนินการจัดการชั้นเรียนในรูปแบบใดนั้น สิ่งที่ครูควรพิจารณาและคำนึงถึงนอกเหนือจากความเชื่อของครูเองแล้ว รูปแบบของการจัดชั้นเรียนยังต้องเหมาะสมกันสภาพลักษณะนิสัยของนักเรียน ความเชื่อค่านิยม พื้นฐานที่เป็นวัฒนธรรมประเพณีของไทย การยอมรับหรือความคาดหวังของสังคม ชุมชน ผู้ปกครองที่มีต่อนักเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมประเทศชาติ ดังนั้นหนาที่ของครูมืออาชีพ คือการศึกษาความเป็นไปได้และเลือกแนวทางที่สอดคล้องเหมาะสมทุกๆ ด้านแล้วจึงกำหนดเป็นแนวทางการสร้างวินัยในชั้นเรียนของตนเพราะห้องเรียนแต่ละห้องก็จะมีลักษณะของการจัดการที่แตกต่างกันไปตามบริบทของชุมชนของสถานศึกษาแต่ละแห่ง
ดังนั้นการนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ คือ การจัดสภาพห้องเรียนทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งภายในห้องในน่าเรียนน่าสนใจแก่ผู้เรียนเพื่อเป็นการกระตุ้นในผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ จัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนเพื่อช่วยสร้างบรรยากาศให้น่าสนใจและจูงใจให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียนและการใช้สื่อเป็นสื่อที่ครูสามารถใช้ในการจัดชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม อาจจะเป็นการใช้สื่อด้วยคำพูดหรืออาจจะสื่อสารโดยท่าทางกิริยาการแสดงออก การตั้งเงื่อนไขในห้องเรียนควรจัดเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนคำนึงถึงจิตใจของผู้เรียนไม่ควรผูกขาดจนเกินไปและที่สำคัญบุคลิกภาพครูควรเป็นกันเองกับเด็กและความสามารถในการสื่อสารให้นักเรียนเข้าใจยอมรับกฎกติกาของการอยู่ส่วนร่วมกันในชั้นเรียน

กิจกรรมที่ 6

ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้  สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธนานนท์*  สารานุกรมวิชาชีพครู  เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษา หน้า ๓๑๑๓๑๗
                จากการศึกษาจะเห็นได้ว่ามาตรฐานวิชาชีพของรองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธนานนท์*  สารานุกรมวิชาชีพครู  เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษาทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งมาตรฐานด้านความรู้ก็ดี มาตรฐานด้านประสบการณ์และทักษะวิชาชีพก็ตาม จะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพ
สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำ ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบาก ในต่างประเทศ
มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด (CIPD-Professional Standard: available at, file://G:\ProfStand11.html) โดยความหมายดังกล่าว วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ
สำหรับความหมายของคำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา มีความหมายที่เป็นอาชีพชั้นสูงเช่นเดียวกับอาชีพชั้นสูงอื่นๆ
มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ

๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่

มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู

มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ

๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม

พื้นฐานและแนวคิด
          โดยพื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ มิใช่มีไว้เพื่อมุ่งในการควบคุมหรือกำกับผู้ประกอบวิชาชีเท่านั้น หากแต่ยังมีพื้นฐานของความคิดความเชื่ออีกบางประการคือ
- เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
- เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
- เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น

          มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพชั้นสูงทั่วไปแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศที่สำคัญด้วยคือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๑)
- สร้างพลเมืองดีของประเทศ โยให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานที่ประเทศต้องการ
- พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
- สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน
การนำไปประยุกต์ใช้
          เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ ตัวอย่างเช่นที่ (The Royal College of Anaesthetists, available at,mhtml: //G\ProfStand12.mht) ได้เน้นที่มาตรฐานวิชาชีพของตน ในการบริการที่ให้ผู้เรียนและสังคมที่ดีที่สุด ทั้งในระดับการบริการภายในและภายนอกสถาบัน ภาควิชาและหน่วยงานต่างๆ
ดังนั้นสิ่งที่ศึกษาสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพครูได้ คือ จากการศึกษามาตรฐานวิชาชีพครูนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดตัวชี้วัดของผู้เรียนและมาตรฐานวิชาชีพครูนั้นครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้างในการกำหนดจบการศึกษาระดับตามข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง เพื่อจะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูต่อไป

กิจกรรมที่ 5

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อกของนักศึกษาสิ่งที่ได้คืออะไรและจะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร

สรุปบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้
จะเห็นว่าในปัจจุบันเราได้ยินคำว่า ต้นแบบในวงการศึกษามากมาย ที่ได้ยินบ่อยมาก คือ ครูต้นแบบต่อมาก็มี โรงเรียนต้นแบบ ศึกษานิเทศก์ต้นแบบ และ ต่อ ๆ ไปก็จะมี ผู้บริหารต้นแบบ นักเรียนต้นแบบ ผู้ปกครองต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ ภารโรงต้นแบบ ฯลฯ ครูต้นแบบที่ดีย่อมเป็นแบบอย่างที่ดีต่อเยาวชน มีความประพฤติมีวาจาและกิริยาที่สวยงาม เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนประพฤติปฏิบัติตาม ดังเช่น พระคุณเจ้าได้สรุปความสำคัญของคำว่า ต้นแบบว่ามี 2 นัย
      นัยแรก    คือต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง
      นัยที่สอง คือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรค์สิ่งดีงาม
                ดังนั้นครูต้นแบบที่ดีต้องมาจากภายในและสอนให้เยาวชนตระหนักถึงผลดีผลร้ายที่ตามมา ถ้าหากประพฤติตัวไปในทางที่ไม่ดี และครูที่ดีต้องค่อยกระตุ้นพฤติกรรมของเยาวชนให้มีพฤติกรรมที่ดีต่อสังคมในยุคโลกปัจจุบันที่ยังถือความนิยมของคนต่างชาติเข้ามา
                  อย่างไรก็ตามในการนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง ต้องหาครูที่เป็นแรงบันดาลใจในการฝึกฝนตนเองและค่อยตักเตือนและประพฤติตัวเองไปในทางที่ดี รู้จักแยกแยะสิ่งไหนถูกสิ่งไหนผิด และควรมีกัลยาณมิตรกับผู้คนรอบข้าง และสิ่งที่ไม่ดีนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับตนเอง
                 ดังนั้นเมื่อข้าพเจ้าได้เป็นครูข้าพเจ้าจะทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ทั้งด้านความรู้ ความสามารถ และการถ่ายทอดความรู้ให้กับศิษย์ให้เกิดความรู้ นำไปพัฒนาตนเองในอนาคตในเป็นเด็กดีของสังคม และที่สำคัญข้าพเจ้าจะปฏิบัติตัวให้สมกับเป็นครูต้นแบบเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการปฏิบัติตามและเป็นแบบอย่างที่ดีกับตนเองและสังคมต่อไป

กิจกรรมที่ 4


ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง และสรุปสิ่งที่นักศึกษาอ่านได้ลงในบล็อกของนักศึกษา
ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง
                                                             ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม

การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะให้กับองค์กรหลายแห่งไม่เว้นแม้กระทั้งองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับหลายองค์กรเช่นกัน ประเด็นเรื่องการอยู่รอดและการเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง ดังคำกล่าวของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่ว่า "ผู้ที่อยู่รอด มิใช่เป็นสายพันธ์ (Species) ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก"
การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ หากจะมองในระดับบุคคลแล้ว คงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดจะสำคัญและยิ่งใหญ่ไปกว่าการปรับเปลี่ยนมุมมอง (ทิฏฐิ) และทัศนคติ (Attitude) การรู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิด หรือความรู้เดิมๆ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เป็นการเริ่มต้นสู่การเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ (Bias)
สรุป    การเป็นผู้นำและการการเปลี่ยนแปลงที่ดีควรทำตัวเองให้น่ายกย่อง เป็นมิตรกับผู้คนรอบข้างไม่ถือตัวเองว่าดีกว่าคนอื่นหรือมีหน้าที่การงานดี ควรทำตัวให้เสมอต้นเสมอปลายต่อผู้คนที่อยู่รอบข้าง อีกปัจจัยหลักในการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ในตัวผู้นำ สิ่งนั้นก็คือคุณสมบัติในเรื่องการเป็น "ผู้ให้"  การเป็นผู้ให้ที่ดีควรรู้จักให้คนอื่นก่อน ควรมองส่วนรวมมากกว่าส่วนตน  มองผลประโยชน์ขององค์กรมากกว่าผลประโยชน์ส่วยตัว  ก็จะทำให้องค์กรนั้นสามารถอยู่รอดในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดได้เช่นกัน