วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ 


นายปรีดี พนมยงค์


ประวัติของนายปรีดี พนมยงค์

             นายปรีดี พนมยงค์  ถือกำเนิดในเรือนแพ  หน้าวัดพนมยงค์  ตำบลท่าวาสุกรี  อำเภอกรุงเก่า  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา     เป็นบุตรของนายเสียงและนางลูกจันทน์ พนมยงค์  มีอาชีพทำนา ศึกษาหนังสือไทยที่บ้านครูแสง  ต่อมาศึกษาต่อที่บ้านหลวงปราณีประชาชน  (เปี่ยม  ขะชาติ)สอบไล่ได้ประถมชั้น ๑ แห่งประโยค ๑ โรงเรียนวัดรวก อำเภอท่าเรือ สอบไล่ได้ประถมบริบูรณ์  โรงเรียนวัดศาลาปูน  อำเภอกรุงเก่าศึกษาชั้นมัธยมเตรียมที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร  สอบไล่ได้ชั้นมัธยม ๖  ที่โรงเรียนตัวอย่างมณฑลกรุงเก่า ศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบ  ช่วยบิดาทำนาที่อำเภอวังน้อย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อายุ ๑๗ ปีเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนกฎหมาย  กระทรวงยุติธรรม  อายุ ๑๙ ปี   สอบไล่วิชากฎหมายขั้นเนติบัณฑิตได้  อายุ ๒๐ ปี     ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงยุติธรรม ให้ทุนไปศึกษาวิชากฎหมาย ณ  ประเทศฝรั่งเศส ศึกษาภาษาฝรั่งเศสและความรู้ทั่วไปที่วิทยาลัยก็อง (Lycée  de Caen) และศึกษาพิเศษจากศาสตราจารย์เลอบอนนัวส์  (Lebonnois) สำเร็จการศึกษาได้ปริญญารัฐ  เป็น บาเชอลิเย  กฎหมาย (Bachelier en Droit)  และได้เป็น ลิซองซิเย  กฎหมาย (Licencié en Droit)    มหาวิทยาลัยก็อง  (Université de Caen)  อายุ ๒๓ ปี   ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการ (คนแรก) ของสามัคยานุเคราะห์สมาคม เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า  Association Siamoise d’ Intellectualité et d’ Assistance Mutielle อักษรย่อ (S.I.A.M.) อายุ ๒๕ ปี    ได้รับเลือกให้เป็นสภานายกสามัคยานุเคราะห์สมาคม    อายุ ๒๖ ปี   ได้รับเลือกให้เป็นสภานายกสามัคยานุเคราะห์สมาคม
 ผลงานของนายปรีดี พนมยงค์ 
          ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ทางด้านวิทยาการต่าง ๆ ทั้งสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ขณะพำนักอยู่ในประเทศจีน ได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อรู้แจ้งเห็นจริงทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ รวมทั้งผลงานของเมธีทางด้านปรัชญาและสังคมศาสตร์ เช่น มาร์กซ์ เองเกลส์ เลนิน สตาลิน และเหมา เจ๋อตุง ในเชิงเปรียบเทียบสภาพสังคมไทยทุกแง่ทุกมุม อาทิ ระบอบเศรษฐกิจ การเมือง ทัศนะสังคม ประวัติศาสตร์ ชนชาติ ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี แล้วได้เรียบเรียงเป็นบทความ ซึ่งได้ตีพิมพ์ในโอกาสต่อมา
            งานเขียนชิ้นสำคัญของท่านที่นำพุทธปรัชญามาวิเคราะห์วิวัฒนาการของมนุษยสังคมคือ "ความเป็นอนิจจังของสังคม" ซึ่งได้รับการตีพิมพ์หลายครั้งและเป็นที่สนใจของผู้ที่ต้องการศึกษาอยู่ตลอดมา เพราะข้อความที่เขียนอันเป็นสัจจะอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกยุคทุกสมัย
ผลงานงานเขียนบางส่วนของนายปรีดี ได้แก่
            -    บันทึกข้อเสนอเรื่อง ขุดคอคอดกระ, กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501
            -  ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้าและ 21 ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน (Ma vie mouvementee et mes 21 ans d' exil en Chine Populaire)
            -   ความเป็นมาของชื่อ ประเทศสยามกับ ประเทศไทย
            -    จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม
            -   ประชาธิปไตย เบื้องต้นสำหรับสามัญชน
            -   ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเบื้องต้นกับการร่างรัฐธรรมนูญ
            -    ปรัชญาคืออะไร
            -  ความเป็นไปบางประการในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใน บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์
            -    บางเรื่องเกี่ยวกับการก่อตั้งคณะราษฎรและระบบประชาธิปไตย
            -   ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเอกภาพของชาติและประชาธิปไตย
            -   ความเป็นเอกภาพกับปัญหาสามจังหวัดภาคใต้, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาชาวปักษ์ใต้แห่งประเทศไทย, 2517
            -    อนาคตของเมืองไทยกับสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้าน, ประจักษ์การพิมพ์, 2518
สาเหตุที่ชอบนายปรีดี พนมยงค์
        นายปรีดี    พนมยงค์เป็นบุคคลที่เป็นตัวอย่างในการปกครองประเทศจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยถือได้ว่าเป็นผู้เปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศไทย มีความรู้ความสามารถในการปกครองประเทศ ทำให้ในสมัยนั้นมีความเป็นเจริญก้าวหน้า ทำให้ประชาชนเปิดกว้างในการเรียนรู้และปฏิรูปการปกครองโดยมีประชาชนเป็นหลักเป็นตัวแปลในการขับเคลื่อนในการปฏิวัติประเทศ และเป็นผู้มีมุมมองที่กว้างอย่างที่เห็นได้ชัดจากผลงานการเขียนด้านวิชาการที่ปรากฏออกมา เป็นแนวความคิดที่มีต่อสภาพการปกครองของประเทศไทย
 


วิกิพีเดีย”.  (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: http://th.wikipedia.org.
“Googol”.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:http://www.google.co.th/imglanding



วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 2

ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในประเด็นนี้
1. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
2. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
       ให้สรุปเขียนลงในกิจกรรมที่ 2 ลงในเว็บล็อกของนักศึกษา โดยสรุปจากการอ่านของนักศึกษาให้มีการอ้างอิงสิ่งที่นักศึกษานำมาใช้เขียน
การบริหารงาน (Administration) แตกต่างกับ Management
                  การบริหารงาน คือการดำเนินการในกิจการต่าง ๆ มีหน่วยงานหรือองค์การ ดำเนินการอำนวยงานให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลงานตามที่ต้องการ
                   นักบริหาร หมายถึง ผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการและดำเนินการ หรือผู้รับผิดชอบต่อการดำเนินงาน หรือผู้วินิจฉัยชี้ขาดและสั่งงาน หรือผู้กำหนดแนวทางปฏิบัติงานขององค์กร
             การบริหารงาน เป็นทั้งศาสตร์และศิลป
                  การบริหารรัฐกิจ เหมือนกับ การบริหารธุรกิจ ในเรื่องของกระบวนการปฏิบัติงาน แต่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานไม่เหมือนกัน
           กระบวนการบริหาร Gulic และ Unwick ได้กล่าวถึงกระบวนการบริหาร ซึ่งเรียกว่า POSDCORB ในหนังสือ Paper on the Sciences of Administration (1957) ซึ่งประกอบด้วย
                  P        =         Planning                    การวางแผน
                  O        =        Organizing                 การจัดองค์การ
                  S        =        Staffing                       การสรรหาคนเข้าทำงาน
                  D        =        Directing                    การอำนวยการ
                 CO      =       Coordinating                การประสานงาน
                 R        =        Reporting                     การรายงาน
                  B        =        Budgeting                    การงบประมาณ
                  ทรัพยากรทางการบริหาร มีอยู่ 4 ประการ คือ คน (Men) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ (Material) การจัดการ (Management) หรือเรียกสั้นๆ ว่า 4M’s
                 William T Greenwood เห็นว่าทรัพยากรบริหาร ควรจะมีอย่างน้อย 7 ประการ คือ คน (Men) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ (Material) อำนาจหน้าที่ (Authority)   เวลา (Time) กำลังใจในการทำงาน (Will) ความสะดวกต่าง ๆ (Facilities)
                 ปัจจัยในการบริหารธุรกิจ 6 ประการ คือ คน (Men) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ (Material) วิธีการ (Method) ตลาด (Market)  เครื่องจักร (Machine)
                 ประสิทธิภาพในการบริหารงาน หมายถึงความสามารถของการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบาย ภายใต้เงื่อนไขทางทรัพยากรที่มีอยู่
                  เทคนิคการบริหารงาน สื่อความเข้าใจ (ด้วยถ้อยคำภาษา เช่น พูด เขียน หรือไม่ใช้ถ้อยคำ เช่น เครื่องหมายและสัญญาณ) มีการจูงใจ การวินิจฉัยสั่งการ (โดยสามัญสำนึกหรือเหตุผล)
                 กระบวนการวินิจฉัยสั่งการ
                  -พิจารณาปัญหา                                                   POLICY   =   นโยบาย
                 -เลือกแนวทางแก้ไขปัญหา                               AUTHORITY = อำนาจหน้าที่
                  -วิเคราะห์แนวทางแก้ไข
                  -พิจารณาผลดีผลเสีย
                 -ดำเนินการและวิธีปฏิบัติ
                ข้อจำกัดในการบริหาร ประกอบด้วย ฐานะและสภาพภูมิศาสตร์ ประชากร ทรัพยากร ลักษณะนิสัยและความสามารถของคน ความเชื่อถือและศรัทธา ขนบธรรมเนียมและประเพณี
นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางที่รัฐบาลกำหนดว่าจะทำหรือไม่กระทำ และได้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติในสิ่งนั้น ๆ ด้วย
                  ทฤษฎีที่เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
                 1.ทฤษฎีสถาบัน (Institutionalism) ทฤษฎีนี้บอกว่า นโยบายสาธารณะนั้นเป็นผลมาจากสถาบันการปกครองของรัฐ
                 2.ทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า นโยบายสาธารณะเป็นผลมาจากการต่อสู้หรือการประนีประนอมระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคม
                3.ทฤษฎีระบบ (System Theory) ของ Devid Easton ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ระบบการเมืองเป็นผลของกระบวนการ ซึ่งมี Input  คือ Demand และ Support   ต่าง ๆ เข้าไปใน  Conversion Process แล้วจะได้ Output  แต่อย่างไรก็ตาม จะมีสภาพแวดล้อม  (Environment) อยู่ล้อมรอบเพื่อทำให้  Feed back ออกมาเป็น Input ใหม่
                4.ทฤษฎีชนชั้นนำ (Elite Theory) ทฤษฎีนี้มองว่าชนชั้นนำเท่านั้น เป็นผู้กำหนดนโยบายเพราะประชาชนทั่วไปไม่สนใจ และไม่มีความรู้เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
                  รูปแบบการตัดสินใจวินิจฉัยนโยบายสาธารณะ มี 3 รูปแบบ คือ
                   1.แบบใช้หลักสมเหตุสมผล เป็นการตัดสินใจวินิจฉัยโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
                 2.แบบใช้หลักส่วนเพิ่มขึ้น มีแนวคิดว่า การตัดสินใจวินิจฉัยโดยทั่วไปมักมีลักษณะอนุรักษ์นิยม โดยต้องอาศัยการตัดสินวินิจฉัยครั้งก่อน ๆ เป็นหลักยึดอยู่ การตัดสินใจครั้งใหม่จึงต้องเป็นเรื่องของการปรับปรุงแก้ไขการตัดสินใจที่เคยทำมาก่อน
                  3.แบบใช้หลักผสมกลั่นกรอง เป็นการตัดสินวินิจฉัยโดยการผสมกลั่นกรองระหว่างลักษณะของการใช้หลักสมเหตุสมผลกับใช้หลักส่วนเพิ่ม
                  นำหลักการดังกล่าวไปใช้ได้ คือ  การบริหารจัดการกิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม การบริหารจัดการที่ดีจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือของทุกๆฝ่าย ดังคำนิยามของ     William T Greenwood เห็นว่าทรัพยากรบริหาร ควรจะมีอย่างน้อย 7 ประการ คือ คน (Men) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ (Material) อำนาจหน้าที่ (Authority)   เวลา (Time) กำลังใจในการทำงาน (Will) ความสะดวกต่าง ๆ (Facilities) เพื่อให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีทรัพยากรบริหารที่ดี

“OK Nation”.(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.oknation.net/blog.

 

แนะนำตนเอง


ประวัติส่วนตัว

นางสาวพัชรี  รินรส  เรียกขานกันทั่วไป  เมย์
เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ 2532 พักพิงอยู่บ้านเลขที่ 232/12 หมู่ 4  ตำบลจันดี  อำเภอฉวาง
จังหวัดนครศรีธรรมราช  80250 มีพี่น้อง 2 คน  ชอบสีฟ้า สีน้ำตาล สีเขียว  นิสัย ร่าเริง พูดมาก

ประวัติการศึกษา
 จบการศึกษาชั้นอนุบาลจากโรงเรียนไพฑูรย์วิทยา จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก
 จบการศึกษาชั้นประถมจากโรงเรียนวัดจันดี

คติประจำใจ
                 อุปสรรคมีไว้พุ่งชน

ภาพถ่ายที่อยากนำเสนอ



กิจกรรมที่ 1



  ให้นักศึกษาค้นหาความหมายคำว่า  การจัดการชั้นเรียน  การบริหารการศึกษา  จากหนังสือ อินเตอร์เน็ตแล้วสรุปแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของเว็บล็อกของนักศึกษา

       การจัดการในชั้นเรียน คือ การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน  การสร้างวินัยในชั้นเรียนตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและการพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         การบริหารการศึกษา  คือ   กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน หรือสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน เช่น ความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม ค่านิยม หรือคุณธรรม ทั้งในด้านการสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิกที่ดีและมีประสิทธิภาพของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ทั้งที่เป็นระเบียบแบบแผน และไม่เป็นระเบียบแบบแผนโดยกระบวนการต่างๆที่อาศัยการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีต่อบุคคล เพื่อให้บุคคลพัฒนาตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่

         ดังนั้นจึงสรุปความหมายของ การบริหารการศึกษาได้ว่า  การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี