วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ 


นายปรีดี พนมยงค์


ประวัติของนายปรีดี พนมยงค์

             นายปรีดี พนมยงค์  ถือกำเนิดในเรือนแพ  หน้าวัดพนมยงค์  ตำบลท่าวาสุกรี  อำเภอกรุงเก่า  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา     เป็นบุตรของนายเสียงและนางลูกจันทน์ พนมยงค์  มีอาชีพทำนา ศึกษาหนังสือไทยที่บ้านครูแสง  ต่อมาศึกษาต่อที่บ้านหลวงปราณีประชาชน  (เปี่ยม  ขะชาติ)สอบไล่ได้ประถมชั้น ๑ แห่งประโยค ๑ โรงเรียนวัดรวก อำเภอท่าเรือ สอบไล่ได้ประถมบริบูรณ์  โรงเรียนวัดศาลาปูน  อำเภอกรุงเก่าศึกษาชั้นมัธยมเตรียมที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร  สอบไล่ได้ชั้นมัธยม ๖  ที่โรงเรียนตัวอย่างมณฑลกรุงเก่า ศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบ  ช่วยบิดาทำนาที่อำเภอวังน้อย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อายุ ๑๗ ปีเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนกฎหมาย  กระทรวงยุติธรรม  อายุ ๑๙ ปี   สอบไล่วิชากฎหมายขั้นเนติบัณฑิตได้  อายุ ๒๐ ปี     ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงยุติธรรม ให้ทุนไปศึกษาวิชากฎหมาย ณ  ประเทศฝรั่งเศส ศึกษาภาษาฝรั่งเศสและความรู้ทั่วไปที่วิทยาลัยก็อง (Lycée  de Caen) และศึกษาพิเศษจากศาสตราจารย์เลอบอนนัวส์  (Lebonnois) สำเร็จการศึกษาได้ปริญญารัฐ  เป็น บาเชอลิเย  กฎหมาย (Bachelier en Droit)  และได้เป็น ลิซองซิเย  กฎหมาย (Licencié en Droit)    มหาวิทยาลัยก็อง  (Université de Caen)  อายุ ๒๓ ปี   ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการ (คนแรก) ของสามัคยานุเคราะห์สมาคม เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า  Association Siamoise d’ Intellectualité et d’ Assistance Mutielle อักษรย่อ (S.I.A.M.) อายุ ๒๕ ปี    ได้รับเลือกให้เป็นสภานายกสามัคยานุเคราะห์สมาคม    อายุ ๒๖ ปี   ได้รับเลือกให้เป็นสภานายกสามัคยานุเคราะห์สมาคม
 ผลงานของนายปรีดี พนมยงค์ 
          ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ทางด้านวิทยาการต่าง ๆ ทั้งสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ขณะพำนักอยู่ในประเทศจีน ได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อรู้แจ้งเห็นจริงทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ รวมทั้งผลงานของเมธีทางด้านปรัชญาและสังคมศาสตร์ เช่น มาร์กซ์ เองเกลส์ เลนิน สตาลิน และเหมา เจ๋อตุง ในเชิงเปรียบเทียบสภาพสังคมไทยทุกแง่ทุกมุม อาทิ ระบอบเศรษฐกิจ การเมือง ทัศนะสังคม ประวัติศาสตร์ ชนชาติ ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี แล้วได้เรียบเรียงเป็นบทความ ซึ่งได้ตีพิมพ์ในโอกาสต่อมา
            งานเขียนชิ้นสำคัญของท่านที่นำพุทธปรัชญามาวิเคราะห์วิวัฒนาการของมนุษยสังคมคือ "ความเป็นอนิจจังของสังคม" ซึ่งได้รับการตีพิมพ์หลายครั้งและเป็นที่สนใจของผู้ที่ต้องการศึกษาอยู่ตลอดมา เพราะข้อความที่เขียนอันเป็นสัจจะอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกยุคทุกสมัย
ผลงานงานเขียนบางส่วนของนายปรีดี ได้แก่
            -    บันทึกข้อเสนอเรื่อง ขุดคอคอดกระ, กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501
            -  ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้าและ 21 ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน (Ma vie mouvementee et mes 21 ans d' exil en Chine Populaire)
            -   ความเป็นมาของชื่อ ประเทศสยามกับ ประเทศไทย
            -    จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม
            -   ประชาธิปไตย เบื้องต้นสำหรับสามัญชน
            -   ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเบื้องต้นกับการร่างรัฐธรรมนูญ
            -    ปรัชญาคืออะไร
            -  ความเป็นไปบางประการในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใน บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์
            -    บางเรื่องเกี่ยวกับการก่อตั้งคณะราษฎรและระบบประชาธิปไตย
            -   ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเอกภาพของชาติและประชาธิปไตย
            -   ความเป็นเอกภาพกับปัญหาสามจังหวัดภาคใต้, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาชาวปักษ์ใต้แห่งประเทศไทย, 2517
            -    อนาคตของเมืองไทยกับสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้าน, ประจักษ์การพิมพ์, 2518
สาเหตุที่ชอบนายปรีดี พนมยงค์
        นายปรีดี    พนมยงค์เป็นบุคคลที่เป็นตัวอย่างในการปกครองประเทศจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยถือได้ว่าเป็นผู้เปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศไทย มีความรู้ความสามารถในการปกครองประเทศ ทำให้ในสมัยนั้นมีความเป็นเจริญก้าวหน้า ทำให้ประชาชนเปิดกว้างในการเรียนรู้และปฏิรูปการปกครองโดยมีประชาชนเป็นหลักเป็นตัวแปลในการขับเคลื่อนในการปฏิวัติประเทศ และเป็นผู้มีมุมมองที่กว้างอย่างที่เห็นได้ชัดจากผลงานการเขียนด้านวิชาการที่ปรากฏออกมา เป็นแนวความคิดที่มีต่อสภาพการปกครองของประเทศไทย
 


วิกิพีเดีย”.  (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: http://th.wikipedia.org.
“Googol”.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:http://www.google.co.th/imglanding



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น