วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การประเมินใช้เครื่องมือบล็อก


การประเมินการใช้บล็อกนี้
ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
รู้สึกได้ว่าอาจารย์ต้องการให้นักศึกษาสืบค้นหาข้อมูลด้วยตนเองและต้องการให้นักศึกษาเอาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยเพื่อให้นักศึกษามีความคิดที่เป็นของตัวเอง                                                                                               
2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ได้รับความรู้ในการใส่ภาพในรูปแบบสไลด์และการแทรกลูกเล่นต่างๆเช่นการใช้ปฏิทิน การใส่เพลง  เป็นต้น  เพื่อเป็นการพัฒนาในการใช้บล็อกต่อไป
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
สะดวกมาก ในหลายกรณี เช่น ส่งงานไม่ทันเราก็สามารถส่งทางบล็อกได้ และมีเวลาในการค้นคว้างานที่ได้ประสิทธิภาพและมีเวลาคิดวิเคราะห์ที่มากขึ้น
4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว (เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)
มากที่สุด เนื่องจากได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นการฝึกการใช้งานของบล็อกได้มากขึ้นและรู้จักวิธีการใช้งานของบล็อก ช่วยเสริมสร้างความรู้ความสามารถในก้าวทันยุคทันสมัยในปัจจุบัน

การสอบครั้งที่ 2



ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1. Classroom Management
การจัดการในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน การสร้างวินัย ในชั้นเรียนตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและการพัฒนาทักษะการสอน ของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภา
2.HappinessClassroom
            หมายถึง การจัดห้องเรียนให้มีความสุข
3. Life-long Education
การเรียนรู้ตลอด หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถจะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเอง
4. formal Education
การศึกษาในระบบ  หมายถึง การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
5. non-formal education
ศึกษานอกระบบ หมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก
6. E-learning
การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนการสอนบนเว็บ การเรียนออนไลน์ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ อาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวิดีทัศน์ ตามอัธยาศัย เป็นต้น
7. Graded
หมายถึง การเรียนแบบระดับชั้น เช่น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นต้น
8. Policy education
     นโยบายการศึกษา คือ หลักการหรือกรอบความคิด แนวทางกลวิธีการดําเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น  ๆ 
9. Vision
วิสัยทัศน์ หมายถึง การสร้างภาพอนาคต หรือการมองอนาคตซึ่งจะเป็นเป้าหมายในการเดินไปสู่อนาคต โดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนมาใช้ หรือหมายถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคตและเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม
10. Mission
พันธกิจ หมายถึง หน้าที่โดยรวมของสถาบันการศึกษา เป็นการตอบคำถามที่ว่า สถาบันการศึกษาต้องการบรรลุอะไรเป็นพันธะสัญญาที่ต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ เป็นจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบันการศึกษาและเป็นขอบข่าย การดำเนินงานของสถาบันการศึกษานั้น พันธกิจอาจกำหนดโดยผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือตลาดเป้าหมายที่สถาบันการศึกษาให้บริการ ความสามารถที่โดดเด่นของสถาบันการศึกษา หรือเทคโนโลยีที่สถาบันการศึกษาใช้
11. Goals
เป้าหมาย หมายถึง การกำหนดสิ่งที่ต้องการในอนาคต ซึ่งองค์การจะต้องพยายามให้เกิดขึ้น หรือหมายถึง เป็นการกำหนดภารกิจของธุรกิจในรูปของผลลัพธ์สำคัญที่ต้องการ เป้าหมายมีความเฉพาะเจาะจงน้อยกว่าวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์จะกำหนดขึ้น หลังจากกำหนดเป้าหมายแล้ว เป้าหมายเลิงกลยุทธ์จะช่วยผู้บริหารให้คิดเกี่ยวกับสิ่งซึ่งธุรกิจต้องบรรลุผลเป้าหมายโดยทั่วไปเป็นปรัชญาของจุดมุ่งหมาย
12. Objective
วัตถุประสงค์ หมายถึง เป้าหมายซึ่งต้องการให้กิจกรรมบรรลุผลหรือหมายถึงเป้าหมายระยะสั้นที่มี ลักษณะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้
13. backward design
หมายถึง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการพัฒนาตน เองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพการเรียนรู้และการทำงานของ ครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้ของครูเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนครู ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู ทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติ แล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ต่อผู้อื่น
14. Effectiveness
ประสิทธิผล หมายถึง การปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้
15. Efficiency
ประสิทธิภาพ หมายถึง การปฏิบัติงานหรือบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว ใช้เทคนิคที่สะดวกสบายกว่าเดิม คุ้มค่า และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในขณะที่ต้องการผลงานมากที่สุด
16. Economy
เศรษฐศาสตร์ หมายถึงการศึกษาถึงวิธีการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมาใช้อย่างประหยัดหรืออย่างมีประสิทธิภาพ
17. Equity
 หมายถึง ความเสมอภาพ
18. Empowerment
หมายถึง การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจ เพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิต วิถีการทำงาน ให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
19. Engagement
การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
20. Project
โครงการ หมายถึง ข้อเสนอที่จะดำเนินงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้สำเร็จ โดยมีการตระเตรียม และวางแผนงานไว้ล่วงหน้า เป็นการจัดการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่ง ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
21. activies
หมายถึง การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา

22. Leadership
ความเป็นผู้นำ หมายถึง กระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือมากกว่า พยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตนกระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่ม บุคคลอื่น มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่ม หรือองค์การเป็นเป้าหมาย
23. Leaders
  ผู้นำ หมายถึง  บุคคลที่มีความสามารถที่จะทำให้องค์การดำเนินไปอย่างก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมาย  โดยการใช้อิทธิพลเหนือทัศนคติและการกระทำของผู้อื่น
24. Follows
ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง
25. Situations
หมายถึง เรื่องราว เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
26. Self awareness
การรู้จักตน หมายถึง การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนการรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27. Communication
การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ
28. Assertiveness
ความกล้าแสดงออก หรือก้าวล้ำ หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกมาในเชิงสร้างสรรค์ เชิงบวก เพื่อความถูกต้อง เหมาะสม ให้เกียรติ ตามกาลเทศะ สุภาพเรียบร้อย มีปิยวาจา มีเมตตาธรรม โดยที่มีสิทธิปกป้องสิทธิของตน หากเขาไม่เห็นด้วย หรือคิดว่าในภายหลังจะต้องมารับผลที่ตามมา หากไปตกปากรับคำในสิ่งที่รู้แล้วว่าทำไม่ได้
29. Time management
การบริหารเวลา   หมายถึง การดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้น
30. PSDCORB
การบริหารงาน– Planning หมายถึง การวางแผน   O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน  D – Directing หมายถึง การสั่งการ Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ R – Reporting หมายถึง การรายงาน  B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ
31. Formal Leaders
ผู้นำแบบเป็นทางการ หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน เพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า
32. Informal Leaders
ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ หมายถึง ผู้นำที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เพราะไม่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าในองค์การ แต่สมาชิกในหน่วยให้การยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ เพราะเขามีคุณสมบัติบางประการที่หน่วยงานหรือสมาชิกในองค์การ ต้องการ ให้การยอมรับ หรือให้ความไว้วางใจ เช่น ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ มนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้น
33. Environment
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
34. Globalization
โลกาภิวัตน์มีความเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมประเพณีเดียวนั้น  หมายถึง  สภาวะโลกไร้พรมแดนได้ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกัน จนเกิดแบบแผน และพัฒนาไปสู่การมีวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างคนจากส่วนต่างๆของโลก
33. Competency
ความสามารถเชิงสมรรถนะ หรือสมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรม ของบุคคล ที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงาน ที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ
34. Organization Cultural
วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ
35. Individual Behavior
พฤติกรรมบุคคล หมายถึง การกระทำหรือการแสดงออกของบุคคล เพื่อแสดงถึงสิ่งที่เขาอยากมี หรือ อยากเป็น ขึ้นอยู่กับสรีระและสิ่งแวดล้อม
36. Group Behavior
พฤติกรรมกลุ่ม หมายถึง เกิดจากการที่บุคคลตั้งแต่สองคนรวมกันเพื่อร่วมกำหนดเป้าหมายและเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
37. Organization Behavior
หมายถึง แนวทางในการปฏิบัติของคนในองค์การซึ่งมาจากสิ่งที่คนนำเข้ามาในองค์การ ได้แก่ ความสามารถ ความคาดหวัง
38. Team working
การทำงานเป็นทีม หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีการประสานงานกัน ร่วมมือกัน สามัคคี มีเป้าหมายร่วมกัน และเชื่อใจกัน
39. Six Thinking Hats
หมวกหกใบหกสี หมายถึง แต่ละใบของหมวกคิดทั้งหกจะมีสีต่างกัน ขาว แดง ดำ เหลือง เขียว ฟ้า สีคือชื่อของหมวกแต่ละหมวก สีของแต่ละหมวกยังมีความสัมพันธ์กับการทำงานของมันด้วยสีขาว
สีขาวเป็นกลางไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง หมวกขาวจะเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงและตัวเลข
สีแดง สีแดงแสดงถึงความโกรธ ความเดือดดาล และอารมณ์ สีแดงให้มุมมองทางด้านอารมณ์
สีดำ สีดำคือข้อควรระวัง และคำเตือน ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของความคิดนั้นๆ
สีเหลือง ให้ความรู้สึกในทางที่ดี หมวกสีเหลืองเป็นมุมมองในทางบวก รวมถึงความหวัง และคิดในแง่ดีด้วย
หมวกสีเขียว หมายถึงความคิดริเริ่ม และความคิดใหม่ๆ
สีฟ้า  หมายถึง  การควบคุม การจัดระบบ กระบวนการคิดและการใช้หมวกอื่นๆ
40. Classroom Action Research
หมายถึง รูปแบบของการวิจัยที่ครูกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถนำไปใช้เพื่อการศึกษา และการวิจัยในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของห้องเรียน จึงอาจกล่าวได้ว่า การวิจัยในชั้นเรียนเป็นวิธีการวิจัยที่ออกแบบ และพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้ครูสามารถค้นพบว่ามีอะไรเกิดขึ้นในห้องเรียนบ้าง และยังช่วยให้ครูทราบข้อมูลที่จะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนที่จะมี ขึ้นต่อไปในอนาคต โดยเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงบรรยาย หรือการวิจัยเชิงทดลอง อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นวิธีการศึกษา

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสอบ




คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
1.Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
การจัดการในชั้นเรียน คือ การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน  การสร้างวินัย ในชั้นเรียนตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและการพัฒนาทักษะการสอน ของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         การบริหารการศึกษา  คือ   กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน หรือสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน เช่น ความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม ค่านิยม หรือคุณธรรม ทั้งในด้านการสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิกที่ดีและมีประสิทธิภาพของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ทั้งที่เป็นระเบียบแบบแผน และไม่เป็นระเบียบแบบแผนโดยกระบวนการต่างๆที่อาศัยการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้ มีต่อบุคคล เพื่อให้บุคคลพัฒนาตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่
ดังนั้นการที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่ม ตั้งแต่ตัวครูต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีบุคลิกภาพที่แสดงถึงความเมตตาและเป็นมิตรกับผู้เรียน รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลรู้ภูมิหลัง ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ซึ่งครูผู้สอนควรมีเครื่องมือ และทักษะในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งอาจเป็นแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ การทำสังคมมิติ และการศึกษารายกรณี เป็นต้น นอกจากนั้นการควบคุมชั้นเรียนเป็นเรื่องที่ครูควรให้ความสนใจ หากพบนักเรียนที่ปัญหาครูจะดำเนินการอย่างไร ครูต้องรู้ว่านักเรียนที่สอนอยู่ในวัยใด วัยของเขาสนใจใฝ่รู้อะไร หากครูออกแบบการจัดการเรียนได้สอดคล้องกับแต่ละช่วงวัยของผู้เรียน และสอดคล้องกับความถนัดของผู้เรียน จะส่งผลให้ผู้เรียนมีความสนใจและตั้งใจในการเรียน เหมือนที่เราชอบเรียนวิชาอะไรในช่วงเด็กเพราะเราชอบครูใช่หรือไม่

2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
     มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด  โดยความหมายดังกล่าว วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรม ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ
มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการ ปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
ตัวอย่างเช่น ครูที่มีต้องมีความรู้ที่กว้างขวางและนำความรู้ที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนและเกิดประสิทธิภาพ และต้องคอยค้นคว้าหาความรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง มีความคิดสร้างสรรค์ เช่น
1.มีความค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
2.มีการเข้าร่วมประชุม สัมมนา เพื่อหาความรู้หาประกอบการเรียนการสอน
3.ติดตามข่าวสารบ้านเมือง
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
ตัวอย่างเช่น ครูจะต้องมีความรู้ในการสอนที่ดีและมากด้วยประสบการณ์มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ของบ้านเมือง ไม่เป็นครูที่ตกยุคไม่ก้าวทันต่อยุคสมัย และนำมาพัฒนาตนเองและวิชาชีพในทันต่อเหตุการณ์บ้านเมือง เช่น
1.นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการเรียนการสอน
2.ทันเหตุการณ์บ้านเมืองโดยการติดตามข่าวทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองมาใช้ในการประกอบการเรียนการสอน
3.ครูที่ดีต้องพัฒนาความรู้ของตนเองอยู่เสมอ

๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
ตัวอย่างเช่นตัว ครูที่ดีต้องมีกิริยามารยาท และบุคลิกภาพที่ดีเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการประกอบอาชีพครู เช่น
1.มีความกระตือรืนร้นต่องานที่ทำ
2.มีความความน่าเชื่อถือ
3.ครูที่ดีต้องแต่งกายให้เหมาะสมกาลเทศะ

3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
หลักการจัดชั้นเรียนที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
1.   ห้องเรียนมีอากาศถ่ายเทได้ดี มีแสงสว่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนอ่านหนังสือได้ชัดเจน 
2. ห้องเรียนมีความสะอาด โดยฝึกให้นักเรียนรับผิดชอบช่วยกันเก็บกวาด เช็ดถู เป็นการปลูกฝัง
นิสัยรักความสะอาด และฝึกการทำงานร่วมกัน
3. ห้องเรียนที่ดีควรมีมุมอ่านหนังสือเพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้นักเรียนอ่านคล่อง และการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้   และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 
4.  ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา และเอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน
5.  จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
6. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข  
7. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
8. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
9. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน
สรุป
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถรับผิดชอบควบคุมดูแลตนเอง ได้ในอนาคต การจัดบรรยากาศมีทั้งด้านกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทั้งการจัดตกแต่งในห้องเรียน จัดที่นั่ง จัดมุมเสริมความรู้ต่างๆ ให้สะดวกต่อการเรียนการสอน ทางด้านจิตวิทยา เป็นการสร้างความอบอุ่น ความสุขสบายใจให้กับผู้เรียน ผู้สอนควรจัดบรรยากาศทั้ง 2 ด้านนี้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดความสุขแก่ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะสร้างคุณลักษณะนิสัยของการใฝ่เรียนรู้ การมีนิสัยรักการเรียนรู้ การเป็นคนดี และการมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั่งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ซึ่งบุคคลสำคัญที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุขให้เกิดขึ้นได้คือ ครูผู้นำทางแห่งการเรียนรู้นั่นเอง

4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน
                การจัดภูมิลักษณ์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนและสภาพอาคารเรียนและความปลอดภัยทั้ง 2 อย่างนี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญทั้งสิ้นการเรียนการสอนไม่ได้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องควบคู่ไปกับการจัดภูมิลักษณ์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนเพื่อเอื้ออำนวยต่อการเรียนควรจัดให้มีความน่าสนใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน ควรจัดให้มีความเหมาะสมและสร้างสรรค์จัดให้เป็นสัดส่วนให้ดูเป็นระบบในการสอดส่องดูแลมีการจัดสนามเด็กเล่นและแหล่งเรียนรู้ เช่น การปลูกพืชสวนครัว การเลี้ยงไก่ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และที่ขาดไม่ได้เลย คือความปลอดภัยในอาคารเรียน ควรมีการตรวจสอบโครงสร้างอาคารเรียนอยู่ตลอดและควรมีไฟฟ้าที่แสงสว่างอยู่ทั่วทุกห้องเรียน เพื่อที่ช่วยถนอมสายตาของผู้เรียน และสภาพภายในห้องเรียนให้มีความปลอดภัยกับตัวผู้สอนและผู้เรียน

5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจ อย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
 ครูที่ดีในทัศนคติของดิฉัน ดิฉันคิดว่าครูที่ดีควรมีความพร้อมในทุกๆด้านและที่สำคัญควรหาความรู้ให้ตัวเองเสมออย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อที่จะนำไปสอนผู้เรียนให้ได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ให้ได้มากที่สุดครูที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
1.ครูต้องมีความรู้ความสามารถเพื่อที่จะสอนให้ได้ความรู้อย่างเต็มที่
2.ครูต้องมีความเชื่อในตนเอง
3. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม
4.ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล
5. รูควรแต่งกายเรียบร้อย ไม่แต่งกายนำสมัย และใช้เครื่องสำอางแต่พอประมาณ
6.ครูควรมีความสงบเสงี่ยม ต้องระมัดระวังในการวางตัวเสมอ
7.พูดจาไพเราะนุ่มนวลอยู่เสมอ
8.สามารถแนะนำให้เด็กได้ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องการเรียน

6.ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
                นำความรู้เรื่องจริยธรรมและคุณธรรมเข้าไปบูรณะกับเนื้อหาที่สอน และฝึกให้ผู้เรียนตระหนักในการใช้จริยธรรมและคุณธรรมที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและจัดตั้งชมรมเกี่ยวกับจริยธรรมและสังคม ขึ้นในโรงเรียน  และเนื่องจากดิฉันเรียนหลักสูตรสังคมศึกษาง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชา เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่ผู้เรียน

















               

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 14


ให้นักศึกษาศึกษา Power point  แล้วตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?
ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้ เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?
Mind Map คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิมที่เป็นบรรทัด ๆ เรียงจากบนลงล่าง ขณะเดียวกันมันก็ช่วยเป็นสื่อนำข้อมูลจากภายนอก เช่น หนังสือ คำบรรยาย การประชุม ส่งเข้าสมองให้เก็บรักษาไว้ได้ดีกว่าเดิม ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายเข้า เนื่องจะเห็นเป็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า ใช้แสดงการ เชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิด รอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันผังความคิด (Mind Map)
วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
  สีขาว หมายถึง การคิดแบบอิงอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงข้อมูล และตัวเลข โดยไม่มีอคติไม่ลำเอียง
- สวมบทบาทเป็นคอมพิวเตอร์ ให้ข้อเท็จจริงแบบเป็นกลาง และไม่มีอคติ ไม่ต้องตีความ ขอแค่ข้อเท็จจริงเท่านั้น อะไรคือข้อเท็จจริงต่างๆของเรื่องนี้ เมื่อครูต้องการให้เด็กคิดแบบสวมหมวกสีขาวก็ตั้งคำถามให้คิด
ตัวอย่าง ของคำถาม เช่น
1. เรามีข้อมูลอะไรบ้าง
2.เราต้องการข้อมูลอะไรบ้าง
3.เราได้ข้อมูลที่ต้องการมาด้วยวิธีใด
สีแดง หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของอารมณ์และความรู้สึก
- สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับข้อมูลที่เป็นกลาง ลางสังหรณ์ สัญชาตญาณ ความประทับใจ สิ่งที่ไม่ต้องการข้อพิสูจน์ สิ่งที่ไม่ต้องเหตุหรือผลหรือหลักฐานมาอ้างอิง
ตัวอย่างของคำถาม เช่น
1.เรารู้สึกอย่างไร
2. นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ทำ
3.นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรกับความคิดนี้
สีดำ หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของข้อควรระวัง และคำเตือน เป็นหัวใจของการคิด
- ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของเรื่องนั้น คอยเตือนภัยให้ระวังตัว สิ่งนั้นไม่สอดคล้องกับประสบการณ์ในอดีตอย่างไร ทำไมสิ่งนั้นอาจใช้การไม่ได้ ชี้ให้เห็นปัญหาและความยุ่งยาก การอยู่ในกรอบกฎเกณฑ์ ดำรงคุณค่าและจริยธรรม
ตัวอย่างของคำถาม เช่น
1.อะไร คือจุดอ่อน
2. อะไรคือสิ่งที่ผิดพลาด
3.อะไรคือสิ่งที่ยุ่งยาก
สีเหลือง หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกที่ดี เป็นมุมมองในแง่บวก รวมถึงความหวัง และการคิดในแง่ดี เป็นการคาดการณ์ในเชิงบวก
- เป็นความคิดเชิงบวก สีเหลืองคือสีของแสงแดดและความสว่างสดใส การมองโลกในแง่ดี การมุ่งมองที่ผลประโยชน์ การคิดที่ก่อให้เกิดผล หรือทำให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้
ตัวอย่างของคำถาม เช่น
1.จุดดีคืออะไร
2.ผลดีคืออะไร
สีเขียว หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของความคิดริเริ่ม และความคิดใหม่ๆ
- เป็นความคิดใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ มุมมองใหม่ๆ การจงใจสร้างความคิดริเร่มใหม่ๆขึ้นมา ทางเลือกใหม่ๆ และอีกหลายทางเลือกใหม่ๆ การเปลี่ยนแป ลง และแง่มุมใหม่ในการมองปัญหา
ตัวอย่าง ของคำถาม เช่น
1.นักเรียนจะนำความคิดนี้ไปทำอะไร
2.ถ้านักเรียนจะทำ ให้สิ่งนี้...(ดีขึ้น)...จะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไร
สีฟ้า หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของการคิดแบบควบคุม การจัดระบบกระบวนการคิด และการใช้หมวกอื่นๆ
- เป็นการคิดที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการคิด การควบคุมหมวกคิดใบอื่นๆ เป็นการมองภาพรวมข้อสังเกตและสถานการณ์โดยรวม สรุปและลงมติ
ตัวอย่างของคำถาม เช่น
1.อะไรที่ต้องการ
2.ขั้นตอนต่อไปคืออะไร
3.อะไรที่ทำไปก่อนแล้ว

กิจกรรมที่ 13



The Healthy Classroom : ----------- โดย อาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์               แนวคิดของ Steven Hastings (2006) จากหนังสือที่ชื่อว่า
       ในวันนี้ กล่าวถึงความสาคัญของ "The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สาคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและ สุขภาพจิตของนักเรียน 2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง และ 3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom เพราะในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวเรื่องนักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง จุดไฟเผาอาคารเรียน-อาคารห้องสมุดของโรงเรียน(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียนซ้ำ เพราะคิดว่าไม่เกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนและเด็ก) ซึ่งผมคิดว่าปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนในประเทศ ของเรา โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมสูง จะเน้นในความเป็น “The Thinking Classroom” หรือห้องเรียนที่เน้นด้านสมอง ด้านวิชาการมากเป็นพิเศษ ทำให้ลดโอกาสในการสร้าง “The Healthy Classroom” : ห้องเรียนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน การเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดว่าเป็นการเสียหายที่น้อยมาก คือ เสียอาคารเพียงหลังเดียวและคุ้มค่ามาก หากเราจะได้บทเรียนและหันมาทบทวนกันอย่างจริงจังในเรื่อง ความเป็นห้องเรียนสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนเพื่อลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพื่อสักวันหนึ่ง เราจะต้องไม่มานั่งเสียใจกับปัญหานักเรียนทำร้ายร่างกายตนเอง นักเรียนฆ่าตัวตาย หรือนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทาร้ายผู้อื่น/ทาลายสิ่งของ
        คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ
         1)ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
       2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออกกำลังกายไหม)
      3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
       4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสาคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
       5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทาความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจาแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
       6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
       7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”)
       8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
       9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
      การทบทวนคำถาม ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เรามองเห็นสภาพปัจจุบัน-ปัญหา ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่อง การพัฒนาเด็กแบบไม่สมดุล ที่เน้นการพัฒนาด้านวิชาการ มากกว่าการพัฒนา ด้านสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ จากการศึกษาแนวคิด เรื่อง The Healthy Classroom Hasting(2006) ได้เขียนถึงปัญหา การบริโภคอาหารไร้คุณภาพ(Junk Food) ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาการทำร้ายร่างกายตนเอง ปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน ยกเว้นเราจะมีการทบทวนสภาพปัญหาเหล่านี้กันอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า จะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการแก้ปัญหา ที่เป็นรูปธรรม ในโอกาสต่อไปได้อย่างแน่นอน ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย และสุขภาพจิตนักเรียน
          จากคำถามดังกล่าวให้สรุปและ ตอบลงในบล็อกของนักศึกษา
การทบทวนคำถาม ดังกล่าวข้างต้น
ในปัจจุบันจะทำให้เราเห็นว่าสภาพปัญหาของสังคมของ "The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ    1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและ สุขภาพจิตของนักเรียน 2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง และ 3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom นั้นส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของเด็กโดยตรง ซึ่งปัญหานี้ได้กำลังแพร่อยู่ในสังคมไทยขึ้นทุกวัน ดังนั้นทุกคนทุกฝ่ายต้องมีส่วนรวมในการแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ดีขึ้น
จากคำถามดังกล่าวให้สรุปและตอบลงในบล็อกของนักศึกษา
                จากคำถามขั้นต้นเราสามารถแก้ปัญหาโดยการสอนเด็กโดยเฉพาะในเรื่อง ที่เน้นการพัฒนาด้านวิชาการ การพัฒนาด้านสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ  ล้วนแล้วทุกอย่างเชื่อมต่อกันหมด เพื่อเด็กมีครบทุกองค์ประกอบการบังคับจิตใจตัวเองก็มีประสิทธิ์ภาพในการแยกแยะสิ่งไหนควรทำสิ่งไหนไม่ควรทำ ทำให้ปัญหาดังกล่าวไม่เกิดขึ้น เนื่องจากเด็กสามารถควบคุมพฤติกรรมของตัวเอง ดังที่เห็นในข่าวที่เป็นอยู่ที่มีทั้งข่าวชกต่อยระหว่างสถาบัน การมั่วสุมยาเสพติด การเล่นพนันบอล ล้วนแล้วแต่มาจากการขาดการพัฒนาดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่12



             ระหว่างวันที่ 17-23 มกราคม 2554 หลักสูตรสังคมศึกษาได้จัดทัศนศึกษาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน สุโขทัย พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ซึ่งกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นการบูรณาการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กิจกรรมทัศนศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้  ให้นักศึกษาเล่าบรรยากาศ การเดินทาง สิ่งที่พบและเกิดองค์ความรู้ใหม่ ลงในบล็อกของนักศึกษาและนำเสนอ    ผลงานของนักศึกษาเป็นรายบุคคล เป็นโปรแกรม Slide.com หรือโปรแกรมนำเสนออื่น ๆ ให้นำมาใส่ลงบล็อกของนักศึกษา  และสำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้ไปทัศนศึกษาให้นำเสนอว่าในช่วงเวลาดังกล่าว นักศึกษาทำกิจกรรมอะไร ได้องค์ความรู้อะไร สรุปเขียนลงในบล็อก และนำเสนอผลงานที่นักศึกษาได้ทำ ทำเป็น Slide.com หรือโปรแกรมนำเสนออื่น ๆ ลงในบล็อกของนักศึกษาเช่นกัน
      สรุปงานนักศึกษาจะมี 2 ชิ้น คือ
      1) สรุปเล่าเหตุการณ์การเดินทางและองค์ความรู้ที่พบลงนบล็อกของนักศึกษา
      2) นำเสนอรูปภาพมีคำบรรยายประกอบรูปภาพ ลงในโปรแกรม Slide.com หรือโปรแกรมอื่น ๆ
ในกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นการศึกษานอกสถานที่ นักเรียนต้องออกแบบเก็บข้อมูลให้ละเอียดมากที่สุด
ความรู้สึกในการเดินทาง
          ความรู้สึกในการได้ไปทัศน์ศึกษา การโครงการภาคสนามในภาค กลางและภาคเหนือของประเทศไทย (ระยะเวลา 1 สัปดาห์)
จากการได้ไปทัศน์ศึกษาในโครงการครั้งนี้จากการศึกษาลักษณะภูมิประเทศแต่ละจังหวัดทำให้ได้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ ของผู้คนในแต่ละภาคแต่ละจังหวัดแตกต่างกันออกไป
   วันแรกของการภาคสนามได้ไปศึกษาที่พระราชวังสนามจันทร์  จังหวัดนครปฐม
พระราชวังสนามจันทร์ มีพื้นที่ประมาณ 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซื้อจากชาวบ้านในราคาสูง เดิมที่นี้สมัยโบราณเรียกว่า " เนินปราสาท" เคยเป็นที่ตั้งของ วังโบราณ และยังมีสระน้ำที่อยู่ด้านหน้าและปัจจุบันก็ยังอยู่คือ " สระน้ำจันทร์" ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพระราชวังสนามจันทร์ เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2450 โดยหลวงพิทักษ์มานพ (น้อย ศิลปี) ซึ่งต่อมาเลื่อนยศเป็นพระยาศิลป์ประสิทธิ์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่ง พระตำหนัก ซึ่งได้พระราชทานนามไว้อย่างไพเราะคล้องจองกันคือ พระที่นั่งพิมาน ปฐม พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี เป็นพระที่นั่งเมื่อแรกสร้าง  2 พระที่นั่ง พระราชทานนามตามประกาศลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2454 พระที่นั่งวัชรีรมยา พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธียกพระมหาเศวตฉัตรขึ้นประดิษฐานเหนือพระแท่นรัตนสิงหาสน์ ภายในพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ปราสาท ศรีวิไชย (ไม่ได้สร้าง) เทวาลัยคเณศร์ ศาลา ธรรมุเทศน์โอฬาร (ไม่ได้สร้าง) พระที่นั่งปาฏิหาริย์ ทัศไนย พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระ ตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ พระตำหนักทับแก้ว และตำหนัก ทับขวัญ
นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานโยงแห่งแรกขึ้น ณ ที่นี้ด้วย คือ สะพานจักรียาตราและสะพาน รามประเวศน์ และยังมีสะพานคอนกรีตอีกสองสะพานได้แก่ สะพาน นเรศวรจรลีและสะพานสุนทรถวาย นอกจากนั้นยังมีเรือนข้าราชบริพารอีกหลายเรือน เช่น เรือนพระนนทิ การ เรือนพระธเนศวร และเรือนทับเจริญ เป็นต้น อาคารและสิ่งก่อสร้างในพระราชวังสนามจันทร์ดังกล่าวล้วนมีความงดงามและมี ลักษณะเฉพาะตัวที่น่าสนใจซึ่งทำให้พระราชวังสนามจันทร์เป็นพระราชวังที่มี ความงดงามทางสถาปัตยกรรมอย่างยิ่ง ทั้งนี้ นอกจากจะใช้เป็นที่แปรพระราชฐานแล้ว ยังทรงใช้เป็นที่ว่าราชการ เลี้ยงรับรองพระราชอาคันตุกะอย่างเป็นทางการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และยังมีพระราชประสงค์ที่จะทรงใช้พระราชวังแห่งนี้เป็นค่ายหลวงเพื่อซ้อมรบ เสือป่าและฝึกหัดพลเมืองให้รู้จักการรักษาป้องกันประเทศด้วยและยังเป็นสถาน ที่ ที่ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมหลายเรื่อง ในปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวังซึ่งได้เปิดให้เข้าชม พระที่นั่งพิมานปฐมและห้องพระเจ้าภายในพระที่นั่งพิมานปฐม พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ เทวาลัยคเณศร์ พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ พระตำหนักทับขวัญ และอนุสาวรีย์ย่าเหล
วันที่ 2 เดินทางไปสถานที่โบราณสถานสมัยอยุธยา ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบ ไปด้วย 3 สถานที่ด้วยกัน สถานที่แรก คือวัดใหญ่ชัยมงคล   วัดใหญ่ชัยมงคล
วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อวัดป่าแก้ว หรือ วัดเจ้าไท ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดเด่นของวัดได้แก่เจดีย์องค์ใหญ่ที่เชื่อกันว่า ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคล พระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด นอกจากนี้แล้ว ภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 อีกด้วย
 สถานที่ 2 คือวัดหน้าพระเมรุ
วัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านเหนือของคูเมือง (แม่น้ำลพบุรีเก่า) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง มีชื่อเดิมว่า "วัดพระเมรุราชการาม" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง ในต้นสมัยอยุธยา เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก เพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่วัดนี้ พระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาที่หลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อสำริดขนาดใหญ่ที่สุดที่ปรากฏและมีความงดงามมาก ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์
 สถานที่ 3 คือ วัดไชยวัฒนาราม
วัดไชยวัฒนาราม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2173 โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็นบ้านเดิมของพระองค์เพื่ออุทิศ พระราชกุศลถวายพระราชมารดา แต่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรง สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือนครละแวกโดย จำลองแบบมาจากปราสาทนครวัด
วันที่  3 เดินทางไปสถานที่  4 สถานที่ด้วยกัน สถานที่ แรกคืออุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาค เหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนจรดวิถีถ่อง)
ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรด้วยความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี ซึ่งสามารถเดินเท้าหรือขี่จักรยานเที่ยวชมได้

 สถาน ที่ 2 คือสถานที่ท่องเที่ยววนอุทยานแพะเมืองผี ณ จังหวัดแพร่
วนอุทยานแพะเมืองผีอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆประวัติความเป็นมา วนอุทยานแพะเมืองผี เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักบริหาร จัดการในพื้นที่อนุรักษ์ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้มีการประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2524 มีเนื้อที่ 167 ไร่ เป็นสถานที่มีความสวยงามด้าน ธรณีวิทยา หน้าผา เสาดิน และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ
"แพะเมืองผี " มีตำนานเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ ความลี้ลับจนเป็นความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่บรรพบุรุษได้เล่าสืลต่อกันมา ว่า มียายชราคนหนึ่ง เข้าไปในป่าถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้พบหลุมเงินหลุมทองยายชราพยายามจะเอาเงิน เอาทองใส่หาบกลับบ้าน แต่เทพยาดาอารักษ์ไม่ให้เอาไปเพียงแต่เอาอวดให้เห็นเท่านั้น พอไปตามชาวบ้านมาดูก้พบแต่รอบเท้า หาบเงิน หาบทอง หายไป ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่นี้ว่า "แพะเมืองผี"
สถานที่ 3   กว๊านพะเยา
กว๊านพะเยา อยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ และ อันดับ 3 ของประเทศไทย (รองจาก หนองหาน และ บึงบอระเพ็ด) [1]  คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากหลัง เกิดจากน้ำที่ไหลมาจากห้วยต่างๆ 18 สาย มีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 29.40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพันธ์ปลาน้ำจืดกว่า 48 ชนิด มีเนื้อที่ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีส่วน ทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่สวยงามประทับใจผู้พบเห็น จนอาจจะกล่าวได้ว่าหัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่กว๊านพะเยานี่เอง
ริมกว๊านพะเยาเป็นร้านอาหารและสวนสาธารณะให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ กว๊านพะเยาในอดีตแต่เดิมเคยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีสายน้ำอิงไหลพาดผ่านคด เคี้ยวทอดเป็นแนวยาวไปตลอด จากทิศเหนือจรดขอบกว๊านฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประกอบกับมีหนองน้ำน้อยใหญ่หลายแห่งและร่องน้ำหลาย สายที่ไหลลงมาจากขุนเขาดอยหลวงแล้วเชื่อมติดต่อถึงกัน ทำให้พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำแห่งนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งนักและมีผู้คน เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่เป็นชุมชนนานนับตั้งแต่โบราณ

 ส่วนสถานที่ 4 คือ วัดพระธาตุช่อแฮ
พระอารามหลวง เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ คู่บ้าน คู่เมืองจังหวัดแพร่และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ ที่เกิดปีขาลวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 11 ถนนช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ บนเนื้อที่ 175 ไร่ บุคคลใดที่มาเที่ยวจังหวัดแพร่แล้วจะต้องมานมัสการพระธาตุช่อแฮ เพื่อเป็นศิริมงคลกับตนเอง จนมีคำกล่าวว่า ถ้ามาเที่ยวจังหวัดแพร่ แต่ไม่ได้มานมัสการพระธาตุช่อแฮ เหมือนไม่ได้มาจังหวัดแพร่แพร่ การเดินทางมาเที่ยววัดพระธาตุช่อแฮ ถนนสายหลัก คือ ถนนช่อแฮ เริ่มตั้งแต่สี่แยกบ้านทุ่ง อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งเป็นสี่แยกใจกลางเมืองแพร่ เข้าสู่ถนนช่อแฮ และตรงไปตามถนนช่อแฮ ผ่านโรงพยาบาลแพร่ สนามบินจังหวัดแพร่ หมู่บ้านเหล่า หมู่บ้านนาจักร หมู่บ้านแต หมู่บ้านมุ้ง สถานที่ตั้งของวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง อยู่ในบริเวณเขตเทศบาลตำบลช่อแฮ ด้วยระยะทาง 9 กิโลเมตร จากตัวเมืองจังหวัดแพร่
พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2549 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม 123 ตอนที่ 96 ง วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวทรงใช้มวลสารจากพระธาตุช่อแฮ ทำพระสมเด็จจิตรลดา
วันที่ 4 เดินทางไปถึง 4 สถานที่ด้วยกัน สถานที่แรกคือ วัดร่องขุ่น  จังหวัดเชียงราย
วัดร่องขุ่น (Wat Rong Khun) ออกแบบและก่อสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งปรารถนาจะสร้างวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้ เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จากเดิมมีเนื้อที่ 3 ไร่ ได้ซื้อที่ดินเพิ่มและมีผู้บริจาคคือคุณวันชัย วิชญชาคร จนปัจจุบันมีเนื้อที่ 9 ไร่ และมีพระกิตติพงษ์ กัลยาโณ รักษาการเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
สถานที่ 2ได้แก่สามเหลี่ยมทองคำ
สามเหลี่ยมทองคำ (Golden triangle) หมายถึงพื้นที่รอยต่อระหว่างสามประเทศ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย, แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว และจังหวัดท่าขี้ เหล็ก ประเทศพม่า มีลักษณะเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมบรรจบกัน โดยมีแม่น้ำโขงตัดผ่านชายแดนไทยและลาว นับเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคนี้สามเหลี่ยมทองคำในส่วนของประเทศไทย อยู่ในเขต บ้านสบรวก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีท่าเรือขนาดเล็กขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีน และลาว เมื่อมองจากฝั่งไทยไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ จะเห็นหมู่บ้านในฝั่งลาวอย่างชัดเจน ส่วนทางพม่าซึ่งอยู่ด้านตะวันตกนั้น ไม่มีหมู่บ้านหรือสิ่งก่อสร้างให้เห็นในระยะใกล้ๆ
บริเวณดังกล่าวยังเป็นที่บรรจบกันของแม่น้ำโขงและแม่น้ำรวก เรียกว่า สบรวก บริเวณนี้เคยมีการค้าฝิ่น โดยแลกเปลี่ยนกับทองคำ มีทิวทัศน์ที่งดงามโดยเฉพาะยามเช้า ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอก เดิมสามเหลี่ยมทองคำเป็นที่รู้จัก ในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวรอยต่อระหว่างประเทศ แต่ในปัจจุบันมีความสำคัญในทางเศรษฐกิจมากขึ้น เนื่องจากเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย
สถานที่ 3 คือหอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยม
หอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยมทองคำเป็นศูนย์นิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมาของ ฝิ่นเมื่อสมัยที่มีการใช้กันอย่างถูกกฏหมายและผลกระทบของการเสพติดฝิ่น อีกทั้งยังทำหน้าที่ศูนย์ข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัยและการศึกษาต่อเนื่องใน หัวข้อฝิ่น สารสกัดจากฝิ่นในรูปแบบต่างๆและยาเสพติดอื่นๆ
สถานที่ 4 วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง)
วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัด พระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ซึ่งดอยตุงมีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กม. และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเนื่องจากพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร
สถานที่ 5 สวนแม่ฟ้าหลวง และพระตำหนักดอยตุง
ดอยตุง เดิมเป็นเพียงภูเขาหัวโล้นแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงรายจนกระทั่ง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จมา และทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของป่าต้นน้ำแห่งนี้ จึงทรงริเริ่ม โครงการพัฒนาดอยตุง ในปี 2531และพัฒนาเป็น มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ทำงานด้านพัฒนาเพื่อสาธารณกุศลเป็นหลักโดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชนกลุ่มน้อยและชาวไทยภูเขาบน ดอยตุงให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น มีศักดิ์ศรีในการดำรงชีวิต คนกับป่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ อีกทั้ง ทำงานด้านการอนุรักษ์สืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ของชาวไทยภูเขาและชาวไทยภาคเหนือ ให้คงอยู่ตลอดไป
วันที่ 5 ของการภาคสนามก็ได้เดินทางไปยัง 4 สถานที่ด้วยกัน สถานที่แรกคือวัดพระธาตุดอยสุเทพ       
        วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ
สถานที่ 2ได้แก่พระตำหนักภูพิง
พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เป็นพระตำหนักประทับแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระตำหนักนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 ตั้งอยู่บนดอยสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บน กิโลเมตรที่ 19 ห่างจากวัดพระธาตุดอยสุเทพประมาณ 4 กิโลเมตร
พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์เปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวันไม่เว้นวันหยุด ราชการ ยกเว้นเมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานมาประทับแรมในช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม
และสถานที่ 3 ดอยปุย
เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ดอยปุย บริเวณรอบๆ หมู่บ้านมีทิวทัศน์ที่สวยงามอย่างยิ่งและยังสามารถมองเห็นดอยอินทนนท์เบื้อง หน้าได้อย่างชัดเจนอีกด้วย นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมได้สะดวกเพราะอยู่ใกล้ตัวเมือง โดยใช้เวลาในการเดินทางจากตัวเมืองประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น ภายในหมู่บ้านมีร้านขายของที่ระลึกซึ่งมีทั้งผลิตภายในหมู่บ้านและนำมาจาก ที่อื่นวางขายให้แก่นักท่องเที่ยวด้วย การเดินทาง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนดอยปุย ห่างจากพระตำหนักฯ 3 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอด สามารถเข้าไปเที่ยวด้วยตนเองได้ หรือจะเช่ารถสองแถวจากดอยสุเทพขึ้นไปได้ทุกฤดูกาล
วันที่ 6 ไปดอยอินทนนท์
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยสภาพป่าเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล\
วันที่ 7 ไปถึง 4สถานที่ ได้แก่ วัดพระแก้วหรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ที่นำมาจากกรุงเวียงจันทร์ แต่แท้ที่จริงแล้ว พบเจอวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส
สถานที่ 2 มิวเซียมสยาม
มิวเซียมสยาม หรือ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนถนนสนามไชย กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบโต้ตอบโดยใช้ตัวละคร 7 ตัวเป็นตัวกลาง มิวเซียมสยามดูแลโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ แห่งชาติ
มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้นี้ ถือเป็นแหล่งการเรียนรู้หนึ่งที่เน้นจุดมุ่งหมายในการแสดงตัวตนของชนในชาติ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เข้าชมที่อยู่ในวัยเด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้รากเหง้าของชาวไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มชนในเขตเมืองบางกอก หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า กรุงเทพมหานคร เป็นสำคัญ เนื่องจากตัวมิวเซียมสยามแห่งนี้ได้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่มิได้หมายความว่าถ้าเป็นคนไทยต่างจังหวัด จะไม่สามารถมาเรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์นี้ได้ ด้วยเพราะสิ่งที่จัดแสดงในมิวเซียมสยามนี้ แสดงถึงความเป็นมาของชนชาติไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผ่านการนำเสนอด้วยสื่อผสมหลายรูปแบบ ทำให้มีความน่าสนใจ และดึงดูดใจผู้เข้าชมได้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังตั้งอยู่ในสถานที่สวยงาม
สถานที่สุดท้ายในการไปโครงการนี้คือตลาดเพลินวาน
ตลาดเพลินวานเป็นตลาดย้อนยุคมี่สิ่งของที่มีอยู่ในอดีต ทำให้นึกถึงสมัยโบราณได้เป็นอย่างดี มีของที่ระลึก ภาพวิวทิวทัศน์ของตลาดสวยงาม
การไปโครงการทัศนศึกษาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน สุโขทัย พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ทำให้ได้เรียนรู้ถึงการดำเนินชีวิตของคนแต่ละจังหวัด ลักษณะภูมิประเทศที่ส่งผลต่อการเรียนรู้วิชาสังคมได้เป็นอย่างดี และดิฉันหวังว่าคงมีโครงการที่ดีอย่างนี้อีกในโอกาสต่อไป