วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่12



             ระหว่างวันที่ 17-23 มกราคม 2554 หลักสูตรสังคมศึกษาได้จัดทัศนศึกษาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน สุโขทัย พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ซึ่งกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นการบูรณาการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กิจกรรมทัศนศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้  ให้นักศึกษาเล่าบรรยากาศ การเดินทาง สิ่งที่พบและเกิดองค์ความรู้ใหม่ ลงในบล็อกของนักศึกษาและนำเสนอ    ผลงานของนักศึกษาเป็นรายบุคคล เป็นโปรแกรม Slide.com หรือโปรแกรมนำเสนออื่น ๆ ให้นำมาใส่ลงบล็อกของนักศึกษา  และสำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้ไปทัศนศึกษาให้นำเสนอว่าในช่วงเวลาดังกล่าว นักศึกษาทำกิจกรรมอะไร ได้องค์ความรู้อะไร สรุปเขียนลงในบล็อก และนำเสนอผลงานที่นักศึกษาได้ทำ ทำเป็น Slide.com หรือโปรแกรมนำเสนออื่น ๆ ลงในบล็อกของนักศึกษาเช่นกัน
      สรุปงานนักศึกษาจะมี 2 ชิ้น คือ
      1) สรุปเล่าเหตุการณ์การเดินทางและองค์ความรู้ที่พบลงนบล็อกของนักศึกษา
      2) นำเสนอรูปภาพมีคำบรรยายประกอบรูปภาพ ลงในโปรแกรม Slide.com หรือโปรแกรมอื่น ๆ
ในกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นการศึกษานอกสถานที่ นักเรียนต้องออกแบบเก็บข้อมูลให้ละเอียดมากที่สุด
ความรู้สึกในการเดินทาง
          ความรู้สึกในการได้ไปทัศน์ศึกษา การโครงการภาคสนามในภาค กลางและภาคเหนือของประเทศไทย (ระยะเวลา 1 สัปดาห์)
จากการได้ไปทัศน์ศึกษาในโครงการครั้งนี้จากการศึกษาลักษณะภูมิประเทศแต่ละจังหวัดทำให้ได้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ ของผู้คนในแต่ละภาคแต่ละจังหวัดแตกต่างกันออกไป
   วันแรกของการภาคสนามได้ไปศึกษาที่พระราชวังสนามจันทร์  จังหวัดนครปฐม
พระราชวังสนามจันทร์ มีพื้นที่ประมาณ 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซื้อจากชาวบ้านในราคาสูง เดิมที่นี้สมัยโบราณเรียกว่า " เนินปราสาท" เคยเป็นที่ตั้งของ วังโบราณ และยังมีสระน้ำที่อยู่ด้านหน้าและปัจจุบันก็ยังอยู่คือ " สระน้ำจันทร์" ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพระราชวังสนามจันทร์ เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2450 โดยหลวงพิทักษ์มานพ (น้อย ศิลปี) ซึ่งต่อมาเลื่อนยศเป็นพระยาศิลป์ประสิทธิ์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่ง พระตำหนัก ซึ่งได้พระราชทานนามไว้อย่างไพเราะคล้องจองกันคือ พระที่นั่งพิมาน ปฐม พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี เป็นพระที่นั่งเมื่อแรกสร้าง  2 พระที่นั่ง พระราชทานนามตามประกาศลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2454 พระที่นั่งวัชรีรมยา พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธียกพระมหาเศวตฉัตรขึ้นประดิษฐานเหนือพระแท่นรัตนสิงหาสน์ ภายในพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ปราสาท ศรีวิไชย (ไม่ได้สร้าง) เทวาลัยคเณศร์ ศาลา ธรรมุเทศน์โอฬาร (ไม่ได้สร้าง) พระที่นั่งปาฏิหาริย์ ทัศไนย พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระ ตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ พระตำหนักทับแก้ว และตำหนัก ทับขวัญ
นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานโยงแห่งแรกขึ้น ณ ที่นี้ด้วย คือ สะพานจักรียาตราและสะพาน รามประเวศน์ และยังมีสะพานคอนกรีตอีกสองสะพานได้แก่ สะพาน นเรศวรจรลีและสะพานสุนทรถวาย นอกจากนั้นยังมีเรือนข้าราชบริพารอีกหลายเรือน เช่น เรือนพระนนทิ การ เรือนพระธเนศวร และเรือนทับเจริญ เป็นต้น อาคารและสิ่งก่อสร้างในพระราชวังสนามจันทร์ดังกล่าวล้วนมีความงดงามและมี ลักษณะเฉพาะตัวที่น่าสนใจซึ่งทำให้พระราชวังสนามจันทร์เป็นพระราชวังที่มี ความงดงามทางสถาปัตยกรรมอย่างยิ่ง ทั้งนี้ นอกจากจะใช้เป็นที่แปรพระราชฐานแล้ว ยังทรงใช้เป็นที่ว่าราชการ เลี้ยงรับรองพระราชอาคันตุกะอย่างเป็นทางการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และยังมีพระราชประสงค์ที่จะทรงใช้พระราชวังแห่งนี้เป็นค่ายหลวงเพื่อซ้อมรบ เสือป่าและฝึกหัดพลเมืองให้รู้จักการรักษาป้องกันประเทศด้วยและยังเป็นสถาน ที่ ที่ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมหลายเรื่อง ในปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวังซึ่งได้เปิดให้เข้าชม พระที่นั่งพิมานปฐมและห้องพระเจ้าภายในพระที่นั่งพิมานปฐม พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ เทวาลัยคเณศร์ พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ พระตำหนักทับขวัญ และอนุสาวรีย์ย่าเหล
วันที่ 2 เดินทางไปสถานที่โบราณสถานสมัยอยุธยา ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบ ไปด้วย 3 สถานที่ด้วยกัน สถานที่แรก คือวัดใหญ่ชัยมงคล   วัดใหญ่ชัยมงคล
วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อวัดป่าแก้ว หรือ วัดเจ้าไท ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดเด่นของวัดได้แก่เจดีย์องค์ใหญ่ที่เชื่อกันว่า ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคล พระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด นอกจากนี้แล้ว ภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 อีกด้วย
 สถานที่ 2 คือวัดหน้าพระเมรุ
วัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านเหนือของคูเมือง (แม่น้ำลพบุรีเก่า) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง มีชื่อเดิมว่า "วัดพระเมรุราชการาม" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง ในต้นสมัยอยุธยา เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก เพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่วัดนี้ พระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาที่หลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อสำริดขนาดใหญ่ที่สุดที่ปรากฏและมีความงดงามมาก ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์
 สถานที่ 3 คือ วัดไชยวัฒนาราม
วัดไชยวัฒนาราม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2173 โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็นบ้านเดิมของพระองค์เพื่ออุทิศ พระราชกุศลถวายพระราชมารดา แต่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรง สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือนครละแวกโดย จำลองแบบมาจากปราสาทนครวัด
วันที่  3 เดินทางไปสถานที่  4 สถานที่ด้วยกัน สถานที่ แรกคืออุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาค เหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนจรดวิถีถ่อง)
ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรด้วยความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี ซึ่งสามารถเดินเท้าหรือขี่จักรยานเที่ยวชมได้

 สถาน ที่ 2 คือสถานที่ท่องเที่ยววนอุทยานแพะเมืองผี ณ จังหวัดแพร่
วนอุทยานแพะเมืองผีอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆประวัติความเป็นมา วนอุทยานแพะเมืองผี เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักบริหาร จัดการในพื้นที่อนุรักษ์ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้มีการประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2524 มีเนื้อที่ 167 ไร่ เป็นสถานที่มีความสวยงามด้าน ธรณีวิทยา หน้าผา เสาดิน และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ
"แพะเมืองผี " มีตำนานเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ ความลี้ลับจนเป็นความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่บรรพบุรุษได้เล่าสืลต่อกันมา ว่า มียายชราคนหนึ่ง เข้าไปในป่าถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้พบหลุมเงินหลุมทองยายชราพยายามจะเอาเงิน เอาทองใส่หาบกลับบ้าน แต่เทพยาดาอารักษ์ไม่ให้เอาไปเพียงแต่เอาอวดให้เห็นเท่านั้น พอไปตามชาวบ้านมาดูก้พบแต่รอบเท้า หาบเงิน หาบทอง หายไป ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่นี้ว่า "แพะเมืองผี"
สถานที่ 3   กว๊านพะเยา
กว๊านพะเยา อยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ และ อันดับ 3 ของประเทศไทย (รองจาก หนองหาน และ บึงบอระเพ็ด) [1]  คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากหลัง เกิดจากน้ำที่ไหลมาจากห้วยต่างๆ 18 สาย มีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 29.40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพันธ์ปลาน้ำจืดกว่า 48 ชนิด มีเนื้อที่ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีส่วน ทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่สวยงามประทับใจผู้พบเห็น จนอาจจะกล่าวได้ว่าหัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่กว๊านพะเยานี่เอง
ริมกว๊านพะเยาเป็นร้านอาหารและสวนสาธารณะให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ กว๊านพะเยาในอดีตแต่เดิมเคยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีสายน้ำอิงไหลพาดผ่านคด เคี้ยวทอดเป็นแนวยาวไปตลอด จากทิศเหนือจรดขอบกว๊านฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประกอบกับมีหนองน้ำน้อยใหญ่หลายแห่งและร่องน้ำหลาย สายที่ไหลลงมาจากขุนเขาดอยหลวงแล้วเชื่อมติดต่อถึงกัน ทำให้พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำแห่งนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งนักและมีผู้คน เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่เป็นชุมชนนานนับตั้งแต่โบราณ

 ส่วนสถานที่ 4 คือ วัดพระธาตุช่อแฮ
พระอารามหลวง เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ คู่บ้าน คู่เมืองจังหวัดแพร่และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ ที่เกิดปีขาลวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 11 ถนนช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ บนเนื้อที่ 175 ไร่ บุคคลใดที่มาเที่ยวจังหวัดแพร่แล้วจะต้องมานมัสการพระธาตุช่อแฮ เพื่อเป็นศิริมงคลกับตนเอง จนมีคำกล่าวว่า ถ้ามาเที่ยวจังหวัดแพร่ แต่ไม่ได้มานมัสการพระธาตุช่อแฮ เหมือนไม่ได้มาจังหวัดแพร่แพร่ การเดินทางมาเที่ยววัดพระธาตุช่อแฮ ถนนสายหลัก คือ ถนนช่อแฮ เริ่มตั้งแต่สี่แยกบ้านทุ่ง อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งเป็นสี่แยกใจกลางเมืองแพร่ เข้าสู่ถนนช่อแฮ และตรงไปตามถนนช่อแฮ ผ่านโรงพยาบาลแพร่ สนามบินจังหวัดแพร่ หมู่บ้านเหล่า หมู่บ้านนาจักร หมู่บ้านแต หมู่บ้านมุ้ง สถานที่ตั้งของวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง อยู่ในบริเวณเขตเทศบาลตำบลช่อแฮ ด้วยระยะทาง 9 กิโลเมตร จากตัวเมืองจังหวัดแพร่
พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2549 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม 123 ตอนที่ 96 ง วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวทรงใช้มวลสารจากพระธาตุช่อแฮ ทำพระสมเด็จจิตรลดา
วันที่ 4 เดินทางไปถึง 4 สถานที่ด้วยกัน สถานที่แรกคือ วัดร่องขุ่น  จังหวัดเชียงราย
วัดร่องขุ่น (Wat Rong Khun) ออกแบบและก่อสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งปรารถนาจะสร้างวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้ เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จากเดิมมีเนื้อที่ 3 ไร่ ได้ซื้อที่ดินเพิ่มและมีผู้บริจาคคือคุณวันชัย วิชญชาคร จนปัจจุบันมีเนื้อที่ 9 ไร่ และมีพระกิตติพงษ์ กัลยาโณ รักษาการเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
สถานที่ 2ได้แก่สามเหลี่ยมทองคำ
สามเหลี่ยมทองคำ (Golden triangle) หมายถึงพื้นที่รอยต่อระหว่างสามประเทศ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย, แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว และจังหวัดท่าขี้ เหล็ก ประเทศพม่า มีลักษณะเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมบรรจบกัน โดยมีแม่น้ำโขงตัดผ่านชายแดนไทยและลาว นับเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคนี้สามเหลี่ยมทองคำในส่วนของประเทศไทย อยู่ในเขต บ้านสบรวก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีท่าเรือขนาดเล็กขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีน และลาว เมื่อมองจากฝั่งไทยไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ จะเห็นหมู่บ้านในฝั่งลาวอย่างชัดเจน ส่วนทางพม่าซึ่งอยู่ด้านตะวันตกนั้น ไม่มีหมู่บ้านหรือสิ่งก่อสร้างให้เห็นในระยะใกล้ๆ
บริเวณดังกล่าวยังเป็นที่บรรจบกันของแม่น้ำโขงและแม่น้ำรวก เรียกว่า สบรวก บริเวณนี้เคยมีการค้าฝิ่น โดยแลกเปลี่ยนกับทองคำ มีทิวทัศน์ที่งดงามโดยเฉพาะยามเช้า ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอก เดิมสามเหลี่ยมทองคำเป็นที่รู้จัก ในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวรอยต่อระหว่างประเทศ แต่ในปัจจุบันมีความสำคัญในทางเศรษฐกิจมากขึ้น เนื่องจากเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย
สถานที่ 3 คือหอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยม
หอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยมทองคำเป็นศูนย์นิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมาของ ฝิ่นเมื่อสมัยที่มีการใช้กันอย่างถูกกฏหมายและผลกระทบของการเสพติดฝิ่น อีกทั้งยังทำหน้าที่ศูนย์ข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัยและการศึกษาต่อเนื่องใน หัวข้อฝิ่น สารสกัดจากฝิ่นในรูปแบบต่างๆและยาเสพติดอื่นๆ
สถานที่ 4 วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง)
วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัด พระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ซึ่งดอยตุงมีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กม. และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเนื่องจากพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร
สถานที่ 5 สวนแม่ฟ้าหลวง และพระตำหนักดอยตุง
ดอยตุง เดิมเป็นเพียงภูเขาหัวโล้นแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงรายจนกระทั่ง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จมา และทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของป่าต้นน้ำแห่งนี้ จึงทรงริเริ่ม โครงการพัฒนาดอยตุง ในปี 2531และพัฒนาเป็น มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ทำงานด้านพัฒนาเพื่อสาธารณกุศลเป็นหลักโดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชนกลุ่มน้อยและชาวไทยภูเขาบน ดอยตุงให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น มีศักดิ์ศรีในการดำรงชีวิต คนกับป่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ อีกทั้ง ทำงานด้านการอนุรักษ์สืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ของชาวไทยภูเขาและชาวไทยภาคเหนือ ให้คงอยู่ตลอดไป
วันที่ 5 ของการภาคสนามก็ได้เดินทางไปยัง 4 สถานที่ด้วยกัน สถานที่แรกคือวัดพระธาตุดอยสุเทพ       
        วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ
สถานที่ 2ได้แก่พระตำหนักภูพิง
พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เป็นพระตำหนักประทับแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระตำหนักนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 ตั้งอยู่บนดอยสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บน กิโลเมตรที่ 19 ห่างจากวัดพระธาตุดอยสุเทพประมาณ 4 กิโลเมตร
พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์เปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวันไม่เว้นวันหยุด ราชการ ยกเว้นเมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานมาประทับแรมในช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม
และสถานที่ 3 ดอยปุย
เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ดอยปุย บริเวณรอบๆ หมู่บ้านมีทิวทัศน์ที่สวยงามอย่างยิ่งและยังสามารถมองเห็นดอยอินทนนท์เบื้อง หน้าได้อย่างชัดเจนอีกด้วย นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมได้สะดวกเพราะอยู่ใกล้ตัวเมือง โดยใช้เวลาในการเดินทางจากตัวเมืองประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น ภายในหมู่บ้านมีร้านขายของที่ระลึกซึ่งมีทั้งผลิตภายในหมู่บ้านและนำมาจาก ที่อื่นวางขายให้แก่นักท่องเที่ยวด้วย การเดินทาง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนดอยปุย ห่างจากพระตำหนักฯ 3 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอด สามารถเข้าไปเที่ยวด้วยตนเองได้ หรือจะเช่ารถสองแถวจากดอยสุเทพขึ้นไปได้ทุกฤดูกาล
วันที่ 6 ไปดอยอินทนนท์
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยสภาพป่าเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล\
วันที่ 7 ไปถึง 4สถานที่ ได้แก่ วัดพระแก้วหรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ที่นำมาจากกรุงเวียงจันทร์ แต่แท้ที่จริงแล้ว พบเจอวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส
สถานที่ 2 มิวเซียมสยาม
มิวเซียมสยาม หรือ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนถนนสนามไชย กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบโต้ตอบโดยใช้ตัวละคร 7 ตัวเป็นตัวกลาง มิวเซียมสยามดูแลโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ แห่งชาติ
มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้นี้ ถือเป็นแหล่งการเรียนรู้หนึ่งที่เน้นจุดมุ่งหมายในการแสดงตัวตนของชนในชาติ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เข้าชมที่อยู่ในวัยเด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้รากเหง้าของชาวไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มชนในเขตเมืองบางกอก หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า กรุงเทพมหานคร เป็นสำคัญ เนื่องจากตัวมิวเซียมสยามแห่งนี้ได้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่มิได้หมายความว่าถ้าเป็นคนไทยต่างจังหวัด จะไม่สามารถมาเรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์นี้ได้ ด้วยเพราะสิ่งที่จัดแสดงในมิวเซียมสยามนี้ แสดงถึงความเป็นมาของชนชาติไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผ่านการนำเสนอด้วยสื่อผสมหลายรูปแบบ ทำให้มีความน่าสนใจ และดึงดูดใจผู้เข้าชมได้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังตั้งอยู่ในสถานที่สวยงาม
สถานที่สุดท้ายในการไปโครงการนี้คือตลาดเพลินวาน
ตลาดเพลินวานเป็นตลาดย้อนยุคมี่สิ่งของที่มีอยู่ในอดีต ทำให้นึกถึงสมัยโบราณได้เป็นอย่างดี มีของที่ระลึก ภาพวิวทิวทัศน์ของตลาดสวยงาม
การไปโครงการทัศนศึกษาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน สุโขทัย พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ทำให้ได้เรียนรู้ถึงการดำเนินชีวิตของคนแต่ละจังหวัด ลักษณะภูมิประเทศที่ส่งผลต่อการเรียนรู้วิชาสังคมได้เป็นอย่างดี และดิฉันหวังว่าคงมีโครงการที่ดีอย่างนี้อีกในโอกาสต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น